วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2497 ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายของพันเอก(พิเศษ) ประพัฒน์ จันทร์โอชา และเข็มเพชร จันทร์โอชา มารดาซึ่งรับราชการครู[5][6] พลเอก ประยุทธ์มีชื่อเล่นว่า "ตู่" หรือที่สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า "บิ๊กตู่" เป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมดสี่คน[7] ได้แก่ พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ,ประคัลภ์ จันทร์โอชา และพลอากาศโทหญิงประกายเพชร จันทร์โอชา ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ [8][9]

การศึกษา

  • พ.ศ. 2514 – โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 12
  • พ.ศ. 2519 – โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23
  • พ.ศ. 2519 - หลักสูตรชั้นนายร้อย รุ่นที่ 51
  • พ.ศ. 2524 – หลักสูตรชั้นนายพัน รุ่นที่ 34
  • พ.ศ. 2528 – หลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 63
  • พ.ศ. 2550 – หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 20
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนสหะกิจวิทยา จังหวัดลพบุรี ซึ่งเข็มเพชร มารดาเป็นครูสอนอยู่ ปัจจุบันโรงเรียนแห่งนี้ได้ยุบไปแล้ว ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี แต่เรียนได้เพียงปีเดียวก็ลาออกเนื่องด้วยบิดาเป็นนายทหารจำต้องโยกย้ายไปในหลายจังหวัด และได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร จนสำเร็จเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 (ตท.12) และเป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23 และเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ในคอลัมน์ "เรียนดี" นิตยสารชัยพฤกษ์ เมื่อปี 2512 ได้กล่าวว่า ประยุทธ์สอบได้คะแนนดีมาก มีอุปนิสัยเงียบขรึมและเป็นคนที่มีวินัยสูง[ต้องการอ้างอิง] ด้วยความที่เป็นพี่ชายคนโตจึงต้องทำตัวเป็นพี่ที่ดี ในวัยเยาว์เขาเป็นคนเรียนเก่งมีความถนัดและความชอบในวิชาคณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษและวิทยาศาสตร์จากการสนับสนุนของบิดามารดา หนังสือที่อ่านเป็นประจำได้แก่ “ชัยพฤกษ์” ประวัติการเล่าเรียนตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นั้น ไม่เคยได้เกรดต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เมื่อถูกถามว่า “ถ้าสอบได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว จะสอบเข้าเรียนต่อที่ไหน” ประยุทธ์ในวัยเด็กนั้นบอกกับผู้สัมภาษณ์ว่าเขาตั้งใจจะเรียนต่อที่โรงเรียนเตรียมทหารและหวังว่าจะได้เป็นทหารบกในอนาคต[ต้องการอ้างอิง]

รับราชการทหาร

พลเอก ประยุทธ์รับราชการทหารอยู่ที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือ "ทหารเสือราชีนี" มาโดยตลอด โดยเริ่มมาจากตำแหน่งผู้บังคับการกองพัน จนถึงผู้บังคับการกรม จากนั้นจึงย้ายไปอยู่ที่กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และรับตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 1 เขาเป็นสมาชิก "บูรพาพยัคฆ์" ในกองทัพ เช่นเดียวกับพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งทั้งสองยังเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
ประยุทธ์ ครั้งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก (ซ้าย) เมื่อเดือนมิถุนายน 2555
  • พ.ศ. 2533 – ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารบกที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 พัน 2 รอ.)
  • พ.ศ. 2541 – ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 รอ.)
  • พ.ศ. 2546 – ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ผบ.พล. ร 2 รอ.)
  • พ.ศ. 2549 – แม่ทัพภาคที่ 1 (มทภ. 1 )
  • พ.ศ. 2551 – เสนาธิการทหารบก (เสธ.ทบ.)
  • พ.ศ. 2552 – รองผู้บัญชาการทหารบก (รอง ผบ.ทบ.)
  • พ.ศ. 2553 – ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)[10]

บทบาททางการเมือง

วันที่ 19 กันยายน 2549 เมื่อเกิดรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) พลตรีประยุทธ์เป็นผู้รับคำสั่งตรงจากพลโท อนุพงษ์ เผ่าจินดา แม่ทัพภาคที่ 1 พลตรีประยุทธ์ได้เลื่อนชั้นยศเป็น "พลโท" และรับตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ระหว่างวันที่ 4 กันยายน 2551 ถึง 14 กันยายน 2551 พลเอกประยุทธ์ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและรองผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในเหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 สมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช, วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2552 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาธิการทหารบก[11] และต่อมาเป็นรองผู้บัญชาการทหารบก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2553, วันที่ 13 เมษายน 2552 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็นเสนาธิการทหารบกในขณะนั้นจนสิ้นสุดการประกาศสถานการณ์ในวันที่ 24 เมษายน 2552
ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2553 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบกต่อจาก พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่เกษียณอายุราชการในเดือนตุลาคม 2553[12] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะลงนามแต่งตั้งให้เขาเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2553 ถึง 22 ธันวาคม 2554 ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในนายทหารที่ควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553[13]
เขายังเป็นหนึ่งในคณะดำเนินคดีระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อปี 2554[14]
ภายหลังยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เขาเป็นบุคคลที่หลายฝ่ายคาดว่าจะพ้นจากตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบกโดยอาจเปลี่ยนโยกย้าย เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแทนเนื่องจากเป็นผู้อยู่ตรงข้ามฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลในขณะนั้น[15]แต่ก็ไม่ได้มีการปรับย้ายตามที่ถูกคาดการณ์ นับได้ว่าพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นผู้บัญชาการทหารบกภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีถึง 3 ราย ได้แก่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และตัวพลเอก ประยุทธ์เองตามลำดับ
หลังรัฐประหาร พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้นำคณะยึดอำนาจที่มีภาพลักษณ์ไม่เหมือนผู้นำคณะยึดอำนาจ คนอื่นๆ กล่าวคือ สื่อมวลชนมักเรียกพลเอกประยุทธ์ อย่างน่ารักน่าเอ็นดูว่า "ลูงตู่" และดารานักร้อง ฯลฯ มักชมว่าเป็น "คนน่ารัก ตลก" ซึ่งผิดกับภาพลักษณ์ผู้นำคณะยึดอำนาจที่เป็นทหารที่เคยผ่านๆมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กองทัพไทย

ความขัดแย้ง กองทัพไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้มีความขัดแย้งมาตลอด ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค สงครามสยาม-ฝรั่งเศส  (1893) เกิดขึ้น...