วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562

เรือหลวงจักรีนฤเบศร

เรือหลวงจักรีนฤเบศร (อังกฤษ: HTMS Chakri Naruebet; ย่อ: CVH-911) เป็นเรือธงและเรือบรรทุกอากาศยานลำแรกและลำเดียวของราชนาวีไทย ประจำการในส่วนกำลังรบของกองทัพเรือ เป็นเรือที่ต่อขึ้นจากประเทศสเปน โดยนำแบบมาจากเรือ ปรินซีเปเดอัสตูเรียส (Principe de Asturias) ของกองทัพเรือสเปน โดยปรับปรุงระบบขับเคลื่อน ระบบควบคุมการบิน ระบบอาวุธ และลดระวางขับน้ำลงเหลือสองในสาม[1][N 1] ขึ้นระวางประจำการเมื่อ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 ได้ใช้งานปฏิบัติภารกิจด้านยุทธการและช่วยเหลือภัยพิบัติตลอดน่านน้ำไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
A small aircraft carrier with an upturned bow underway in calm seas. The number "911" is painted on the side, and an AV-8S aircraft and S-70 helicopter are sitting on the flight deck.
เรือหลวงจักรีนฤเบศรในทะเลจีนใต้ ต้นปี พ.ศ. 2544
ประวัติ (ไทย)ราชนาวีไทย
ชื่อเรือ:• ไทยร.ล. จักรีนฤเบศร
• อังกฤษHTMS CHAKRI NARUEBET
ตั้งชื่อตาม:"เฉลิมพระเกียรติราชวงศ์จักรี"
สั่งต่อเรือ:27 มีนาคม พ.ศ. 2535
ต่อขึ้นที่:อู่ต่อเรือบาซัน เมืองเฟร์รอล ประเทศสเปน
งบประมาณ:7,100 ล้านบาท
วางกระดูกงู:12 กรกฎาคม พ.ศ. 2537
ปล่อยลงน้ำ:20 มกราคม พ.ศ. 2539
ขึ้นระวาง:20 มีนาคม พ.ศ. 2540 (21 ปี)
ประจำการที่:ฐานทัพเรือสัตหีบ
เลขเรือ:911
คำขวัญ:ครองเวหา ครองนที จักรีนฤเบศร
ชื่อเล่น:เรือจักรี
สถานะ:อยู่ในประจำการ
สัญลักษณ์:HTMS Chakri Narubet badge.svg
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท:เรือบรรทุกอากาศยาน
ขนาด (ระวางขับน้ำ):เต็มที่ 11,544 ตัน
ความยาว:182.6 เมตร (ตลอดลำ)
174.1 เมตร (ดาดฟ้าบิน)
164.1 เมตร (แนวน้ำ)
ความกว้าง:22.5 เมตร (แนวน้ำ)
30.5 เมตร (สูงสุด)
กินน้ำลึก:6.2 เมตร
เครื่องยนต์:• เครื่องยนต์ดีเซล Bazán-MTU 16V1163 TB83 จำนวน 2 เครื่อง กำลัง 11,780 แรงม้า
• เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ GE LM2500 จำนวน 2 เครื่อง กำลัง 44,250 แรงม้า
ใบจักร:• เพลาใบจักร จำนวน 2 เพลา
• ใบจักรแบบปรับมุมใบจักรได้ จำนวน 4 ใบ/พวง
ความเร็ว:• 27 นอต (สูงสุด)
• 12 นอต (มัธยัสถ์)
พิสัยเชื้อเพลิง:• 10,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 12 นอต
• 7,150 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 16.5 นอต
ลูกเรือ:• ทหารประจำเรือ 451 คน
• ทหารประจำหน่วยบิน 146 คน
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ:ระบบอำนวยการรบ 9แอลวี มาร์ค 4
เรดาร์ตรวจการณ์อากาศ/พื้นน้ำ ซี ยีราฟ เอเอ็มบี 3ดี (เอเอ็น/เอสพีเอส-77(วี)1)
เรดาร์เดินเรือ วิชันมาสเตอร์ เอฟที 2 ชุด
สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง:เครื่องดักรับและหาทิศสัญญาณเรดาร์ อีเอส-3601เอส (เอเอ็น/เอสแอลดี-4(วี))
ยุทโธปกรณ์:ปืนใหญ่กล มาร์ค 20 ดีเอ็ม6 ขนาด 20 มิลลิเมตร 85 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 4 แท่น
ปืนกล เอ็ม2เอชบี ขนาด 12.7 มิลลิเมตร แท่นเดี่ยว 2 แท่น
แท่นยิง ซาดรัล สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ มิสทรัล แท่นละ 6 ท่อยิง 3 แท่น
อากาศยาน:เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ เอส-70บี-7 ซีฮอว์ค (ฮ.ปด.1) 6 เครื่อง
เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง เอ็มเอช-60เอส ไนค์ฮอว์ค (ฮ.ลล.5) 2 เครื่อง
เครื่องบินขับไล่ขึ้นลงทางดิ่ง เอวี-8เอส/ทีเอวี-8เอส แฮริเออร์ (บ.ขล.1) 9 เครื่อง (ปลดประจำการแล้ว)
อุปกรณ์สนับสนุนการบิน:• ดาดฟ้าบิน 174.6 x 27.5 ม.
• สกีจั๊ม 12°
• โรงเก็บสำหรับเครื่องบิน 10 ลำ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เรือจักรีนฤเบศร

ประวัติ

ในปี พ.ศ. 2532 ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ในอ่าวไทยบริเวณจังหวัดชุมพร กองทัพเรือได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ซึ่งทางกองทัพได้ใช้เรือและอากาศยานในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย แต่ประสบปัญหาคือเรือขนาดใหญ่ที่สุดที่กองทัพเรือมีอยู่ขณะนั้นไม่สามารถทนสภาพทะเลได้ ทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยกระทำได้ด้วยความยากลำบาก[2] การมีเรือขนาดใหญ่พร้อมอุปกรณ์ทันสมัยจะสามารถใช้ในการค้นหาและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลได้อย่างรวดเร็วและทันการ และหากว่ามีเฮลิคอปเตอร์ประจำการบนเรือจะช่วยขยายพื้นที่ในการลาดตระเวนและระยะเวลาในการปฏิบัติการในทะเลได้เป็นเวลานานและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กองทัพเรือจึงได้มีแนวความคิด ในการสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เพื่อให้สามารถบรรลุภารกิจตามความมุ่งหมาย
เดิมรัฐบาลไทยได้วางแผนจัดซื้อเรือบัญชาการสนับสนุนการยกพลขึ้นบก ขนาดระวาง 7,800 ตันจากบริษัทเบรเมอร์ วัลแคนของเยอรมนีแต่ได้ทำการยกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2534[3] และทำการจัดซื้อใหม่จากบริษัทบาซัน ประเทศสเปน ซึ่งเป็นผู้ออกแบบและต่อเรือปรินซีเปเดอัสตูเรียส เรือธงของกองทัพเรือสเปนในขณะนั้น คณะรัฐมนตรีของไทยได้มีมติเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2535 อนุมัติให้กองทัพเรือว่าจ้างสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล ลงนามโดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลสเปนในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2535[3] เป็นเงิน 7,100 ล้านบาท[2]
เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เริ่มสร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 และมีการวางกระดูกงูในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2537[3][4] ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2539 โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จไปทำพิธี ได้มีการทดลองแล่นเรือตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2539-เดือนมกราคม พ.ศ. 2540 ร่วมกับกองทัพเรือสเปนที่โรต้า (Rota) ประเทศสเปน[3] รับมอบเรือและขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540[2] โดยมีพลเรือเอก วิจิตร ชำนาญการณ์ เป็นผู้รับมอบ[5] เรือได้รับหมายเลข 911 และเดินทางถึงประเทศไทยในต้นเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน เรือได้เข้าประจำการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2540[4] ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2540[6] พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทรงเจิมเรือหลวงจักรีนฤเบศรเพื่อความเป็นสิริมงคล
กองทัพเรือได้ขอพระราชทานชื่อเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กองทัพเรือและเป็นขวัญกำลังใจแก่กำลังพลประจำเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเรือหลวงลำนี้ว่า เรือหลวงจักรีนฤเบศร แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งราชวงศ์จักรี[2] และใช้คำขวัญว่า ครองเวหา ครองนที จักรีนฤเบศร[2]
เรือหลวงจักรีนฤเบศรขึ้นระวางประจำการสังกัดกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ โดยมีนาวาเอกสุรศักดิ์ พุ่มพวง เป็นผู้บังคับการเรือ ปัจจุบันมีนาวาเอก เอตม์ ยุวนางกูร เป็นผู้บังคับการเรือคนที่ 8 (หมดวาระ กันยายน พ.ศ. 2559) [7]

ลักษณะจำเพาะ

เรือหลวงจักรีนฤเบศรเป็นเรือบรรทุกอากาศยานขนาดเล็กที่สุดในโลก[8] นำแบบแผนมาจากเรือ ปรินซีเปเดอัสตูเรียส ของกองทัพเรือสเปนซึ่งพัฒนามาจากแบบแผนเรือควบคุมทะเล (Sea Control Ship - SCS) ของกองทัพเรือสหรัฐ โดยลดระวางขับน้ำลง มีระวางขับน้ำเต็มที่ 11,544 ตัน[9] มีความยาวตลอดลำ 182.6 เมตร ความยาวที่แนวน้ำ 164.1 เมตร ความกว้างกลางลำที่แนวน้ำ 22.5 เมตร ความกว้างดาดฟ้าบิน 30.5 เมตร ความสูงถึงดาดฟ้าบิน 18.5 เมตร ความสูงยอดเสา 42 เมตร และกินน้ำลึกเต็มที่ 6.2 เมตร[9] ตัวเรือถึงฐานเรดาห์สร้างด้วยเหล็กเหนียว (Mild steel) พื้นดาดฟ้าบินสร้างด้วยเหล็กกล้าแรงดึงสูง (High Tensile Steel) และเสากระโดงเรือสร้างด้วยอะลูมิเนียมอัลลอยด์[5]กำลังพลประจำเรือประกอบด้วยนายทหาร 42 นาย พันจ่า 69 นาย จ่า 230 นาย พลทหาร 110 นาย[9] และทหารประจำหน่วยบิน 146 นาย[8]
เรือหลวงจักรีนฤเบศรขับเคลื่อนด้วยระบบเครื่องยนต์ผสมพลังงานดีเซลหรือแก๊ส (CODOG)[8] แต่ละระบบเชื่อมต่อกับใบจักร 4 ใบ/พวง[5]แบบปรับพิทช์ได้ ทั้งเครื่องยนต์ดีเซล Bazán-MTU 16V1163 TB83 ( 5,600 แรงม้าที่ความเร็วลาดตระเวน) และเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ GE LM2500 (22,125 แรงม้า ใช้เมื่อต้องการเร่งสู่ความเร็วสูงสุดในระยะเวลาสั้นๆ) มีจำนวนอย่างละ 2 เครื่องยนต์[8][9] เรือหลวงจักรีนฤเบศรมีความเร็วสูงสุด 27 นอต แม้ว่าเรือจะทำความเร็วได้ที่ 17.2 นอตเมื่อใช้เครื่องยนต์ดีเซลเพียงอย่างเดียว[8] เรือมีระยะทำการ 10,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 12 นอตและ 7,150 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 16.5 นอต[8]

อาวุธและอากาศยาน

เรือหลวงจักรีนฤเบศรติดตั้งอาวุธปืน 20 มม. จำนวน 4 แท่นยิง[9] และอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันตนเองระยะประชิดชนิดพื้นสู่อากาศแบบแซดเรล (SADRAL) 3 แท่นยิง ใช้ลูกอาวุธปล่อยเป็นจรวดนำวิถีมิสทราล (Mistral) ซึ่งเป็นแบบนำวิถีเข้าสู่เป้าด้วยตนเอง[3][10][11]อาวุธปล่อยนำวิถีถูกติดตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544[3] นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งระบบปล่อยอาวุธทางดิ่ง Mark 41 แบบ 8 ท่อยิงสำหรับยิงจรวดซีสแปร์โรว (Sea Sparrow) และระบบป้องกันระยะประชิดฟารังซ์ (Phalanx) อีก 4 แท่นยิง[4]
เมื่อเข้าประจำการ เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้รับเครื่องฮ็อคเกอร์-ซิดเดลี่ย์ แฮริเออร์ เอวี-8เอส (ที่นั่งเดี่ยว) และ ทีเอวี-8เอส (สองที่นั่ง) มือสองจากกองทัพเรือสเปนเข้าประจำการจำนวน 9 ลำ ปัจจุบันประสบปัญหาการดูแลรักษาและขาดแคลนอะไหล่ ปลดประจำการหมดแล้วทั้ง 9 ลำ[12] และยังมีเฮลิคอปเตอร์ซี ฮอร์ก เอส-70บี จำนวน 6 เครื่อง[9][8][13][10] เรือหลวงจักรีนฤเบศรมีความสามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ 14 ลำ เช่น ไซคอร์สกี ซี คิงไซคอร์สกี เอส-76 และ ซีเอช-47 ชีนุก[8] หรือเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่ง 12 ลำ[14] มีโรงเก็บขนาด 2,125 ตารางเมตร[14]สามารถเก็บอากาศยานได้ 10 ลำ[3][10] มีดาดฟ้าบินขนาด 174.6 กว้าง 27.5 เมตร[3] และมีสถานีรับ-ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานีจ่ายกระแสไฟฟ้าไว้บริการแก่อากาศยานที่นำเครื่องจอดลงบนดาดฟ้า ซึ่งดาดฟ้าบินนี้สามารถรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์ได้ทุกประเภท โดยน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุดระหว่าง 7,000-136,000 กิโลกรัม กรณีเป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่เช่น ชีนุก สามารถรับส่งได้ที่จุดรับ-ส่งที่ 4 เท่านั้น โดยการรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์นั้นสามารถรับ-ส่งได้ 5 เครื่องพร้อมกัน[14] มีสกีจั๊ม 12° สำหรับให้เครื่องแฮริเออร์ขึ้นบิน[3] มีลิฟท์สำหรับอากาศยาน 2 ตัวแต่ละตัวรับน้ำหนักได้ 20 ตัน[3] และมีลิฟต์ลำเลียงสรรพาวุธอีก 2 ตัว[14]

ระบบตรวจการและตอบโต้

ระบบตรวจการของเรือหลวงจักรีนฤเบศรประกอบไปด้วยเรดาร์อากาศ Hughes SPS-52C ย่านคลื่นความถี่ E/F และเรดาร์นำร่อง Kelvin-Hughes 1007 จำนวน 2 เครื่อง[3] มีการเตรียมการที่จะติดตั้งเรดาร์ผิวน้ำ SPS-64 และโซนาร์ใต้ท้องเรือ แต่จนกระทั่งปี พ.ศ. 2551 ก็ยังไม่มีการติดตั้ง[3][10] ส่วนควบคุมการยิงก็ยังไม่ได้ติดตั้งด้วยเช่นกัน[3]
เรือยังติดตั้งเครื่องยิงเป้าลวง SBROC 4 เครื่องและเป้าลวงลากท้าย SLQ-32[10]

ภายในเรือ

ภายในเรือจักรีนฤเบศรประกอบด้วยห้องต่างๆ ทั้งส่วนที่ใช้ปฏิบัติงาน และห้องพัก รวมกว่า 600 ห้อง[15] โดยมีส่วนหลักๆ ดังนี้ สะพานเดินเรือซึ่งเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงานของเรือ หอบังคับการบิน ห้องควบคุมการจราจรทางอากาศ ห้องอุตุนิยมวิทยา ห้องควบคุมดาดฟ้าบิน ห้องบรรยายสรุปการบิน ห้องศูนย์ยุทธการ และห้องครัว[15]

โรงพยาบาล

โรงพยาบาลในเรือหลวงจักรีนฤเบศรมีหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ดูแลด้านการสุขาภิบาลหน่วยเรือ และให้การช่วยเหลือด้านการแพทย์แก่กำลังพลของเรือและจัดกำลังพลช่วยเหลือหน่วยอื่นๆที่จัดขึ้นในกรณีพิเศษ[16] ห้องรักษาพยาบาลประกอบด้วย ห้องตรวจโรค ห้องผ่าตัด ห้องเอกซ์เรย์ และห้องทันตกรรม ห้องผู้ป่วยสามารถรองรับผู้ป่วยได้ จำนวน 15 เตียง ห้องผู้ประสบภัย สามารถรองรับผู้ประสบภัยได้ จำนวน 26 เตียง[9]

อื่น ๆ

ระบบไฟฟ้าภายในเรือหลวงจักรีนฤเบศรประกอบไปด้วย[9]เครื่องขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน 4 เครื่อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน 4 เครื่อง
เครื่องจักรช่วยและเครื่องจักรอื่นๆภายในเรือหลวงจักรีนฤเบศรได้แก่[9] เครื่องปรับอากาศ ขนาด 155 ตัน จำนวน 3 เครื่อง เครื่องทำความเย็นขนาด 5 ตัน จำนวน 2 เครื่อง เครื่องปรับแต่งอาการโคลงของเรือจำนวน 2 ชุดเครื่อง เครื่องผลิตน้ำจืดแบบออสโมซิสผันกลับจำนวน 4 เครื่อง

ภารกิจ


ภาพขณะเครื่องแฮร์ริเออร์ AV-8 กำลังขึ้นบิน เผยให้เห็นลิฟต์บรรทุกเฮลิคอปเตอร์ด้านท้ายเรือ
เรือหลวงจักรีนฤเบศรเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ลำแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[17] มีระวางขับน้ำ 11,544 ตัน สามารถทนต่อคลื่นลมรุนแรงได้ในระดับ 9 ซึ่งคลื่นมีความสูง 13.8 เมตร[18]

ภารกิจในอดีต

เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้มีภารกิจในเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังนี้

พายุไต้ฝุ่นซีตาห์

ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นซีตาห์ที่จังหวัดชุมพร เรือหลวงจักรีนฤเบศร[19]ได้ไปยังพื้นที่ประสบภัย และดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ติดอยู่ตามตำบลที่ต่างๆ เนื่องจากระดับน้ำท่วมสูงจนการช่วยเหลือทางบกไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ประสบภัยได้ โดยการใช้เฮลิคอปเตอร์จากเรือ นำอาหารและน้ำดื่มไปแจกจ่ายให้กับผู้ที่ติดอยู่ตามตำบลที่ต่างๆ

พายุไต้ฝุ่นลินดา

ในวันที่ 4–7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 เรือหลวงจักรีนฤเบศร[19]ได้ออกเรือเพื่อให้การช่วยเหลือเรือประมงในทะเล ที่ประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่นลินดาโดยลาดตระเวนจากสัตหีบไปยังเกาะกูด จังหวัดตราดจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เหตุการณ์อุทกภัยจังหวัดสงขลา

เรือหลวงจักรีนฤเบศร[19]ออกเรือเพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 23–29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ซึ่งเรือหลวงจักรีนฤเบศร ออกจากท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และจอดทอดสมอเรือบริเวณเกาะหนู จังหวัดสงขลา ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เริ่มปฏิบัติการโดยใช้การบินตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และส่งชุดปฏิบัติการพิเศษพร้อมเรือยางลำเลียงเอาอาหารและสิ่งของจำเป็นมอบแก่ผู้ประสบภัย

เหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงพนมเปญ

ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2546 เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงพนมเปญ และมีชาวกัมพูชาเผาสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงพนมเปญได้รับความเสียหาย มีการเตรียมพร้อมในการอพยพเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยและประชาชนชาวไทยในกัมพูชาให้เดินทางกลับประเทศไทย ในแผน "โปเชนตง 1" และเตรียมพร้อมปฏิบัติการบริเวณพื้นที่ด้านตะวันตกของเกาะกง[19] นอกน่านน้ำกัมพูชา เป็นการปฏิบัติการในชื่อแผน "โปเชนตง 2" โดยอากาศยานบนเรือเตรียมพร้อมปฏิบัติการในการใช้กำลังทางทหารต่อกัมพูชา หากมีความผิดพลาดเกินขึ้นในแผนโปเชนตง 1

ภัยพิบัติคลื่นสึนามิ พ.ศ. 2547

ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ช่วยเหลือประชาชนจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ โดยกองเรือยุทธการจัดตั้งหมู่เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล โดยมีกำลังพลรวมทั้งสิ้น 760 นาย ซึ่งประกอบด้วยเรือหลวงจักรีนฤเบศร[19] เรือหลวงนเรศวรและชุดแพทย์เคลื่อนที่ โดยมีภารกิจหลักคือค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ให้การรักษาพยาบาลบริเวณเกาะต่างๆ และพื้นที่ทะเลด้านใต้ของเกาะภูเก็ตและเก็บกู้ศพและลำเลียงศพจากเกาะพีพีดอน นอกจากนั้นยังให้การสนับสนุนและรับการตรวจเยี่ยมจากนายกรัฐมนตรีพร้อมคณะและกองทัพเรือ

เหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย พ.ศ. 2553

ในเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2553 เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เดินทางออกจากฐานทัพเรือสัตหีบ เดินทางถึงจังหวัดสงขลา โดยทอดสมอที่เกาะหนู เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย[20][21]

เหตุการณ์ภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี (เกาะเต่า)

ในเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 กองทัพเรือได้จัดตั้งหมู่เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล กรณีเกิดภัยพิบัติในพื้นที่ เกาะเต่า เกาะสมุย เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยสั่งการให้เรือหลวงจักรีนฤเบศร[19]พร้อมด้วยอากาศยาน ร.ล.สุโขทัย และเรือของกองทัพเรืออีกหลายลำออกเดินทางไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ติดค้างบนเกาะเต่า โดยลำเลียงผู้ประสบภัยจำนวนทั้งสิ้น 743 คน เดินทางมายังท่าเทียบเรือจุกเสม็ด[19]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กองทัพไทย

ความขัดแย้ง กองทัพไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้มีความขัดแย้งมาตลอด ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค สงครามสยาม-ฝรั่งเศส  (1893) เกิดขึ้น...