ความคิดเห็นที่ 6
ก่อน.. รถออกให้บริการจะต้องมีการตรวจสอบสภาพหัวรถจักร
เพื่อไปลากตู้โดยสาร. บางคนชอบติดคำว่า โบกี้ โบกี้ คือล้อรถไฟ ที่อยู่ใต้ตู้โดยสาร ตู้สินค้า
นั้นละเรียกว่าโบกี้.
แต่คนไทยก็เรียกไปขึ้นรถไฟ โบกี้ที่ 8 9 10 กันทั้งนั้นละ.
ยกหัว ยกตั้งคันเพื่อตรวจระบบไฟฟ้า ระบบล้อ..
ถ้าพวกซุปเปอร์ไซย่าตกงานไม่มีศัตรูแล้ว ก็คงต้องมารับยกพวกนี้ละ ไม่งั้นเค้าจะหาว่าเกาะเมียกิน
เพื่อไปลากตู้โดยสาร. บางคนชอบติดคำว่า โบกี้ โบกี้ คือล้อรถไฟ ที่อยู่ใต้ตู้โดยสาร ตู้สินค้า
นั้นละเรียกว่าโบกี้.
แต่คนไทยก็เรียกไปขึ้นรถไฟ โบกี้ที่ 8 9 10 กันทั้งนั้นละ.
ยกหัว ยกตั้งคันเพื่อตรวจระบบไฟฟ้า ระบบล้อ..
ถ้าพวกซุปเปอร์ไซย่าตกงานไม่มีศัตรูแล้ว ก็คงต้องมารับยกพวกนี้ละ ไม่งั้นเค้าจะหาว่าเกาะเมียกิน
ความคิดเห็นที่ 7
พร้อมแล้วออกจาก โรงหัวรถจักร ไปยังหัวลำโพง..
แล้วหัวรถจักร ก็มาเชื่อมเข้ากับขบวนรถที่อยู่ที่ สถานีรถไฟกรุงเทพ แต่เราจะเรียกว่าหัวลำโพง
แล้วหัวรถจักร ก็มาเชื่อมเข้ากับขบวนรถที่อยู่ที่ สถานีรถไฟกรุงเทพ แต่เราจะเรียกว่าหัวลำโพง
ความคิดเห็นที่ 8
หัวรถจักร U 20 ของการรถไฟ ใช้ลากตู้คอนเทรนเนอร์
รถไฟส่วนตัว ของ บ. tpi pL ของคุณประชัย ปีนี้รถไฟขบวนนี้คง พาเราไปที่ 4 บาท
เครื่องยนต์ของหัวรถจัก ที่เราเห็นอยู่บ่อยๆ คันสีส้ม
รถไฟส่วนตัว ของ บ. tpi pL ของคุณประชัย ปีนี้รถไฟขบวนนี้คง พาเราไปที่ 4 บาท
เครื่องยนต์ของหัวรถจัก ที่เราเห็นอยู่บ่อยๆ คันสีส้ม
ความคิดเห็นที่ 9
อายุ มากแล้ว แต่ก็ยังวิ่งได้
ความคิดเห็นที่ 10
ติดตามครับ แต่ตอนสร้างครั้งแรกเราสร้างรางที่ 1.435 เมตร แล้วเราลดขนาดรางลงทำไมครับ แล้วตอนนี้จะขยายออกไปขนาดเดิมอีก แสดงว่าบรรพบุรุษเราวางระบบไว้ดีแล้วรึเปล่าครับ
ความคิดเห็นที่ 11
ท่าทางจะยาว
บุคมาร์คไว้ก่อน ว่างๆค่อยมาอ่าน
บุคมาร์คไว้ก่อน ว่างๆค่อยมาอ่าน
ความคิดเห็นที่ 12
พร้อม ให้บริการ ... ทุกเส้นทาง เหนือ ใต้ ออก ตก
พร้อม ให้บริการ ... ทุกเส้นทาง เหนือ ใต้ ออก ตก
ความคิดเห็นที่ 13
ตามกฏแล้ว... รถไฟวิ่งบนราง
รถไฟชนรถ รถโดนรถไฟชนบนราง
รถไฟจะไม่มีความผิดทุกกรณี...
แต่ ๆๆ
เวลา นักข่าว พาดหัวข่าว
จะพาดหัวข่าวเอามัน ขายสำนวนข่าว พาดว่า
มาเหล็กขยี้รถกระบะตายยกครัว
รถด่วน ..ชนสนั่นหกล้อ ตกราง
ตามกฏแล้ว... รถไฟวิ่งบนราง
รถไฟชนรถ รถโดนรถไฟชนบนราง
รถไฟจะไม่มีความผิดทุกกรณี...
แต่ ๆๆ
เวลา นักข่าว พาดหัวข่าว
จะพาดหัวข่าวเอามัน ขายสำนวนข่าว พาดว่า
มาเหล็กขยี้รถกระบะตายยกครัว
รถด่วน ..ชนสนั่นหกล้อ ตกราง
ความคิดเห็นที่ 14
ท่านชายหารูปเก่งจัง
ความคิดเห็นที่ 15
รถช่วยงาน ทุกหน่วย..
รถตรวจทาง ตรวจสอบเส้นทางต่างๆ ว่ามีความปลอดภัยเดินรถได้หรือไม่
รถตรวจทาง ตรวจสอบเส้นทางต่างๆ ว่ามีความปลอดภัยเดินรถได้หรือไม่
ความคิดเห็นที่ 16
หัวรถจักร ดีเซล ไฟฟ้า.. ทดสอบครั้งสุดท้ายก่อนออกให้บริการ.
ดีเซลไฟฟ้า คือใช้น้ำมันดีเซลมาสร้างเป็นพลังงานไฟฟ้าในการขับเคลือน
ดีเซลไฟฟ้า คือใช้น้ำมันดีเซลมาสร้างเป็นพลังงานไฟฟ้าในการขับเคลือน
ความคิดเห็นที่ 17
การขนย้าย กำลังทหารทางรถไฟ
ยังมีความจำเป็น
เช่น การส่งออกไปรับศึกที่ชายแดน กรณีถูกโจมตี
แล้วต้องการ ทหารม้าไปช่วย
ทหารม้าสมัยนี้ ก็ คือ รุถถัง
ส่วนทหารม้าจริงๆ ตอนนี้ คือ มีอยู่ 1 กองพัน ใช้ในการสวนสนามถวาพระพร ให้กับ ในพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ถ้าเราต้องส่งกองทัพออกไปยึดประเทศข้าศึก การย้ายกำลังด้วยรถไฟ ไปได้เร็วสะดวก
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ว่ารถไฟไทย มีเครือข่ายไปรองรับหรือไปวางกำลังไว้ใกล้ประเทศที่เราจะยึดครองได้เพียงใด.
ยังมีความจำเป็น
เช่น การส่งออกไปรับศึกที่ชายแดน กรณีถูกโจมตี
แล้วต้องการ ทหารม้าไปช่วย
ทหารม้าสมัยนี้ ก็ คือ รุถถัง
ส่วนทหารม้าจริงๆ ตอนนี้ คือ มีอยู่ 1 กองพัน ใช้ในการสวนสนามถวาพระพร ให้กับ ในพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ถ้าเราต้องส่งกองทัพออกไปยึดประเทศข้าศึก การย้ายกำลังด้วยรถไฟ ไปได้เร็วสะดวก
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ว่ารถไฟไทย มีเครือข่ายไปรองรับหรือไปวางกำลังไว้ใกล้ประเทศที่เราจะยึดครองได้เพียงใด.
เมื่อได้สำรวจแนวทางต่าง ๆ แล้ว รัฐบาลพิจารณาเห็นว่าจุดแรกที่สมควรจะสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเมืองหลวงของไทยก่อนอื่น คือ นครราชสีมา ดังนั้นในเดือนตุลาคม 2433 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งกรมรถไฟขึ้น สังกัดอยู่ในกระทรวงโยธาธิการ มีพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงศ์ ทรงเป็นเสนาบดี และนาย เค. เบ็ทเก ( K. Bethge ) ชาวเยอรมัน เป็นเจ้ากรมรถไฟ พร้อมกันนั้นได้เปิดประมูลสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ - นครราชสีมา เป็นสายแรก ณ ที่ทำการรถไฟกรุงเทพ ปรากฏว่า มิสเตอร์ จี มูเร แคมป์เบล แห่งอังกฤษ เป็นผู้คำประกันประมูลได้ในราคาต่ำสุด โดยเสนอราคาเป็นเงิน 9,956,164 บาท
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้กระทรวงโยธาธิ-การว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพฯถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก เป็นทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร และได้เสด็จพระราช ดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการ สร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 ซึ่งปัจจุบัน การรถไฟฯ ได้สร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกเหตุการณ์สำคัญในอดีต และเพื่อน้อมรำลึกถึง พระกรุณาธิคุณ
ในปี พ.ศ.2439 การก่อสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพฯ - นครราชสีมา สำเร็จบางส่วนพอที่จะเปิดการเดินรถได้ ดังนั้น ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟ ระหว่าง สถานีกรุงเทพ - อยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร และเปิดให้ประชาชนเดินทางไปมาระหว่าง กรุงเทพ - อยุธยา ได้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม
พ.ศ.2439 เป็นต้นไป ในระยะแรกเดินขบวนรถขึ้นล่องวันละ 4 ขบวน มีสถานีรวม 9 สถานี คือ สถานีกรุงเทพ บางซื่อ หลักสี่ หลักหก คลองรังสิต เชียงราก เชียงรากน้อย บางปะอิน และกรุงเก่า ซึ่งการรถไฟฯ ได้ถือเอา " วันที่ 26 มีนาคม " เป็น วันสถาปนากิจการรถไฟ สืบมาจนถึงปัจจุบัน
ต่อจากนั้นก็ได้เปิดการเดินรถต่อไปอีกเป็นระยะ ๆ จากอยุธยา ถึง แก่งคอย มวกเหล็ก ปากช่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2443 การ สร้างทางรถไฟสายนครราชาสีมา ได้เสร็จเรียบร้อย และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรง เปิดการเดินรถสายนี้ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2443 รวมระยะทางจาก กรุงเทพ - นครราชสีมา ทั้งสิ้น 265 กิโลเมตร สิ้นเงินในการ ก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ 17,585,000 บาท
เส้นทางรถไฟสายเหนือ
การสร้างทางรถไฟสายเหนือนั้น เริ่มต้นจากสถานีชุมทางบ้านภาชี ไปจนถึงสถานีเชียงใหม่ โดยแยกจากทางรถไฟ สายกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ทางสายนี้ เป็นทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะการก่อสร้างนั้น ได้ดำเนินการมาเป็นตอนๆ และทดลองเปิดการเดินรถ เป็นระยะๆ เรื่อยมา ดังต่อไปนี้
ช่วงแรก ระหว่าง ชุมทางบ้านภาชี - ลพบุรี ระยะทาง 43 กิโลเมตร
เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2444
ช่วงที่สอง ระหว่าง ลพบุรี - ปากน้ำโพ ระยะทาง 117 กิโลเมตร
โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จทำพิธี เปิดการเดินรถสายเหนือ ที่สถานีชุมทางบ้านภาชี เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2488
ช่วงที่สาม ระหว่าง ปากน้ำโพ - พิษณุโลก ระยะทาง 139 กิโลเมตร
เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2450
ช่วงที่สี่ ระหว่าง พิษณุโลก - ชุมทางบ้านดารา ระยะทาง 69 กิโลเมตร
เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451
ช่วงที่ห้า ระหว่าง ชุมทางบ้านดารา - ปางต้นผึ้ง ระยะทาง 51 กิโลเมตร
เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2452
ช่วงที่หก ระหว่าง ปางต้นผึ้ง - แม่พวก ระยะทาง 19 กิโลเมตร
เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2454
ช่วงที่เจ็ด ระหว่าง แม่พวก - ปากปาน ระยะทาง 10 กิโลเมตร
เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455
ช่วงที่แปด ระหว่าง ปากปาน - ห้วยแม่ต้า ระยะทาง 13 กิโลเมตร
เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2456
ช่วงที่เก้า ระหว่าง ห้วยแม่ต้า - บ้านปิน ระยะทาง 13 กิโลเมตร
เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2457
ช่วงที่สิบ ระหว่าง บ้านปิน - ผาคอ ระยะทาง 17 กิโลเมตร
เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2458
ช่วงที่สิบเอ็ด ระหว่าง ผาคอ - แม่จาง ระยะทาง 19 กิโลเมตร
เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2458
ช่วงที่สิบสอง ระหว่าง แม่จาง - นครลำปาง ระยะทาง 42 กิโลเมตร
เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459
ช่วงที่สิบสาม ระหว่าง นครลำปาง - ปางหัวพง ระยะทาง 33 กิโลเมตร
เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2459
ช่วงที่สิบสี่ ระหว่าง ปางหัวพง - ปางยาง ระยะทาง 4 กิโลเมตร
เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2461
ช่วงที่สิบห้า ระหว่าง ปางยาง - อุโมงค์ขุนตาน - เชียงใหม่ ระยะทาง 72 กิโลเมตร
เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2469
23 เมษายน 2559 เวลา 16:21 น.